หลักการออกแบบของ ADDIE model
1. Analysis (การวิเคราะห์)
การออกแบบบ้าน : กำหนดคุณลักษณะของบ้านที่ต้องการ เช่น ขนาดพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน จำนวนห้อง วัสดุที่ใช้ การตกแต่งภายในและภายนอก
การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ : กำหนดเป้าหมาย (Target / Goal) เช่น ความรู้ ทักษะ หรือพฤติกรรมในการทำงานที่ต้องการพัฒนา ระดับของการเรียนรู้ที่ต้องการ
2. Design (การออกแบบ)
การออกแบบบ้าน : ออกแบบพิมพ์เขียว โครงสร้างของบ้านตามคุณลักษณะที่ได้กำหนดไว้
การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ : ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ การวัด ติดตาม ประเมินผล และแผนการสอน ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
3. Development (การพัฒนา)
การออกแบบบ้าน : สร้างโมเดลตัวอย่างบ้านจำลอง
การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ : สร้างชั้นเรียนทดลอง
4. Implement (การดำเนินการ)
การออกแบบบ้าน : ดำเนินการสร้างบ้านจริง
การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ : ดำเนินการเรียนรู้ตามกระบวนการที่ออกแบบไว้
5. Evaluation (การประเมินผล)
การออกแบบบ้าน : ประเมินความพึงพอใจ และคุณภาพของบ้านตามคุณลักษณะที่ได้กำหนดไว้
การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ : ประเมินผลการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ตัวอย่าง เช่น
ตัวอย่างการออกแบบสื่อการสอนตาม ADDIE Model เรื่อง รู้จักต้นไม้ นักเรียนชั้นอนุบาล 1
การพัฒนาบทเรียนตามแนวทางการออกแบบรูปแบบการสอนรูปแบบ ADDIE
รูปที่ 1 ขั้นตอนการพัฒนาแบบ ADDIE
ตัวอย่างการออกแบบสื่อการสอนตาม ADDIE Model เรื่อง รู้จักต้นไม้ นักเรียนชั้นอนุบาล 1
การพัฒนาบทเรียนตามแนวทางการออกแบบรูปแบบการสอนรูปแบบ ADDIE
รูปที่ 1 ขั้นตอนการพัฒนาแบบ ADDIE
1. ขั้นการวิเคราะห์ Amalysis
1.1 การกำหนดหัวเรื่องและวัตถุประสงค์ทั่วไป
ต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกับเรา เมื่อเราสังเกตตัวเราจะพบว่า เรามีศีรษะ ลำตัว แขน มือ ขา และเท้า เมื่อเราสังเกตต้นไม้จะพบว่า ต้นไม้มีส่วนต่างๆ ไม่เหมือนกับเรา แต่ต้นไม้มีราก ลำต้น ใบ ดอก และผล
1.2 การวิเคราะห์ผู้เรียน
เนื่องจากตัวโรงเรียนอยู่ในพื้นที่ชนบท ชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่มีลักษณะเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ ซึ่งคนในชุมชนมีความเกี่ยวพันธ์กันทางสายเลือด ซึ่งจะทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในบทเรียนได้ง่ายขึ้น
1.3 การวิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อของต้นไม้ที่อยู่รอบๆ ตัว รู้จักลักษณะของต้นไม้ว่าประกอบไปด้วย ลำต้น ใบ ดอก ผล และราก ซึ่งแต่ละส่วนมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไปตามชนิดของต้นไม้นั้นๆ
1.4 การวิเคราะห์เนื้อหา
ในเนื้อหาบทเรียนที่จะสอนเป็นเรื่องส่วนต่างๆของต้นไม้ ในแต่ละคาบเรียนสอนไปตามเนื้อหาหนังเรียน และมีกิจกรรมเกมให้เด็กๆทำ เพื่อให้เข้าใจในเนื้อหาง่ายขึ้น
ในการสอนก็จะวางแผนในการสอนโดยจะเริ่มจากตัวเนื้อหาที่เป็นพื้นฐานที่สุดก่อนแล้วค่อยเจาะลึกในเนื้อหา ต้องให้เด็กเข้าใจบทเรียนตามลำดับความยากง่ายไป
2. ขั้นตอนการออกแบบ Design
2.1 การศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์
ในเนื้อหาที่จะสอน จะเริ่มจากให้เด็กดูรูปภาพเพื่อให้ึกการสังเกต สามารถเปรียบเทียบ จำแนกความเหมือนและความแตกต่างจากการสังเกตและสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้
2.2 การออกแบบการเรียนการสอน
วางแผนการสอน เริ่มตั้งแต่ตัวเนื้อหาที่เป็นพื้นฐานไปจนครบบท
ในการสอนทุกคาบ ทุกเนื้อหาต้องมีรูปภาพประกอบเพื่อให้เด็กเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น
3. ขั้นการพัฒนา Development
3.1) การเตรียมการ
เตรียมเรื่องที่จะสอน
ออกแบบบทเรียน
3.2) สร้างบทเรียน
เตรียมข้อความ ภาพ ที่ไช้ประกอบการสอน
3.3) สร้างเอกสารประกอบการเรียน
ภาพส่วนประกอบของต้นไม้
ใบงาน
4. การนำไปใช้ Impelment
4.1 การปฏิบัติภาคสนาม
จากการวางแผน และรูปแบบการสอนต้องทำให้ผู้เรียนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ให้ได้
4.2 การเผยแผ่ระบบ
หากรูปแบบการสอนนี้ทำให้ผู้เรียนเข้าใจในบทเรียนได้มาก ระบบนี้ก็จะสามารถใช้ในสถานศึกษาได้ยาวนานและอาจจะถูกพัฒนารูปแบบให้ดีขึ้นไปกว่านี้ก็ได้
5. การประเมิน Evaluation
มีใบงานให้ผู้เรียนทำหลังการเรียนการ เพื่อวัดความเข้าใจในการเรียนรู้
ชิ้นงาน
การออกแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิง (Instructional design for e-Learning)
ชิ้นงาน
การออกแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิง (Instructional design for e-Learning)
1. การวิเคราะห์
1.1 วิเคราะห์ความจำเป็น
- จัดการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงในหลักสูตร รายวิชา หรือเนื้อหาอะไร
- จัดการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิงเต็มรูปแบบ หรือแบบผสมผสาน หรือเสริมการเรียนการสอน
1.2 วิเคราะห์เนื้อหา หรือกิจกรรมการเรียนการสอน
- การแบ่งเนื้อหาเป็นหัวข้อใหญ่ และหัวข้อย่อย ๆ เพื่อให้มีความชัดเจน กำหนดเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.3 วิเคราะห์ผู้เรียน
- ข้อมูลผู้เรียน เช่น ระดับชั้น อายุ ความรู้พื้นฐาน เพื่อให้ได้บทเรียนที่มีคุณภาพ และเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
1.4 วิเคราะห์วัตถุประสงค์
- กำหนดวัตถุประสงค์ทางด้านพุทธิพิสัย คือ พฤติกรรมเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ ด้านจิตพิสัย คือ พฤติกรรมเกี่ยวกับความรู้สึก ค่านิยมทัศนคติ และด้านทักษะพิสัย คือ พฤติกรรมเกี่ยวกับการกระทำหรือการปฏิบัติ
- ระดับชั้น อายุ ความรู้พื้นฐาน เพื่อให้ได้บทเรียนที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
1.5 วิเคราะห์สภาพแวดล้อม
- อุปกรณ์สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น เครื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แม่ข่าย จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในสถาบัน ระบบจัดการสอน
- จำนวนผู้เรียนที่มีคอมพิวเตอร์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพา สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ความเร็ว
2. ออกแบบ
- การเขียนผังงาน การออกแบบ storyboard เพื่อจัดลำดับความสัมพันธ์ของเนื้อหาแต่ละส่วน บทดำเนินเรื่อง และการออกแบบบทเรียน ภาพ ข้อความ เสียง หรือมัลติมีเดีย กิจกรรมการเรียน การกำหนดปฏิสัมพันธ์การเรียน และการประเมินผล
- การนำตัวบทเรียนที่ผ่านการออกแบบและวิเคราะห์จากขั้นวิเคราะห์มาพัฒนาเป็นการเรียนอีเลิร์นนิง
- การออกแบบหน้าจอภาพ (screen design) การจัดพื้นที่และองค์ประกอบของจอภาพเพื่อใช้ในการนำเสนอเนื้อหา ภาพ กราฟิก เสียง สี ตัวอักษร และส่วนประกอบอื่น ๆ ให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของผู้เรียน
3. พัฒนา
ขั้นพัฒนาเป็นขั้นตอนของการลงมือปฏิบัติการสร้างบทเรียนตามผลการออกแบบจากขั้นตอนที่สอง ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยผู้มีความเชี่ยวชาญหลายด้าน เช่น นักออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก นักคอมพิวเตอร์ผู้ดูแลและจัดการระบบการจัดการเรียนการสอน (LMS: learning management system) เช่น
1. ตัวอักษรของเนื้อหาข้อความภาษาไทยและภาษาอังกฤษควรใช้ตัวหัวกลม แบบธรรมดา หนึ่งหน้าจอควรมีเนื้อหาไม่เกิน 8 - 10 บรรทัดและควรใช้ลักษณะเหมือนกัน รูปแบบเดียวตลอดหนึ่งบทเรียน
2.ภาพกราฟิกควรใช้ภาพการ์ตูนภาพวีดีทัศน์ ภาพล้อเสมือนจริงที่เป็นภาพเคลื่อนไหว 2 มิติ (animation) และ 3 มิติ (3 D animation) จำนวน 1 ถึง 3 ภาพภายในหนึ่งหน้าจอ และภาพพื้นหลัง (ถ้ามี) ควรใช้ภาพลายน้ำ สีจางลักษณะเดียวกันตลอดหนึ่งบทเรียน
3. สีที่ปรากฏในจอภาพและสีของตัวอักษร ข้อความไม่ควรใช้เกินจำนวน 3 สี โดยคำนึงถึงสีพื้นหลังประกอบด้วย
4. สื่อชั้นนำในการนำทาง (navigational aids) ควรเลือกใช้สัญรูป (icon) แบบปุ่มรูปภาพ แบบรูปลูกศรพร้อมทั้งอธิบายข้อความสั้น ๆ ประกอบสัญลักษณ์หรือแสดงข้อความ hypertext และใช้เมนูแบบปุ่ม (button) แบบ Pop Up ที่แสดงสัญลักษณ์สื่อความหมายได้เข้าใจชัดเจน
5. ปัจจัยสนับสนุนเพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนาบทเรียน เช่น การเลือกใช้ระบบบริการจัดการเนื้อหา (CMS: content management system) แหล่งสนับสนุนการเรียนรู้ การใช้เครื่องมือสื่อสารปฏิสัมพันธ์
4. นำไปใช้
การนำเสนอการเรียนผ่านระบบบริหารจัดการเรียนการสอนเผยแพร่บนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (network) และสู่การนำไปจัดการเรียนการสอนจริง
5. ประเมิน
การประเมินการวิเคราะห์ การประเมินการออกแบบ การประเมินการพัฒนา และการประเมินเมื่อนำไปใช้จริงของระบบอีเลิร์นนิง โดยกระทำระหว่างดำเนินการ คือการประเมินระหว่างดำเนินงาน (formative evaluation) และประเมินภายหลังการดำเนินงาน (summative evaluation) การประเมินจะทำใหผู้พัฒนาทราบข้อมูลเพื่อการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในขั้นตอนต่าง ๆ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น