งานวิจัย
แหล่งค้นคว้างานวิจัยทางการศึกษา "ฐานข้อมูลผลงานการวิจัย"
สามารถค้นหได้จาก http://www.thaiedresearch.org
ตัวอย่างเช่น
การพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 75/75
๒. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียน และหลังเรียน โดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
๓. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ประชากร
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านปงแม่ลอบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 ปีการศึกษา 2557 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 13 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1) ชุดฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ จำนวน 6 ชุด
2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ใช้ควบคู่กับชุดฝึกเสริมทักษะ จำนวน 19 แผน
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
1) ชุดฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ จำนวน 6 ชุด
2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ใช้ควบคู่กับชุดฝึกเสริมทักษะ จำนวน 19 แผน
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
การวิเคราะห์ข้อมูล
- ค่าเฉลี่ย
- ค่าร้อยละ
- ค่าเฉลี่ยร้อยละ
- ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย
1. ชุดฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 79.47/78.72 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 75/75
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ 52.71 โดยคะแนน การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ 26.52 และ 78.85 ตามลำดับ3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้ชุดเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.69 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.40
ประโยชน์จากการอ่านงานวิจัยฉบับนี้คือ เป็นตัวอย่างในการศึกษาเพื่อนำความรู้และรูปแบบไปใช้ในการเขียนวิจัยในชั้นเรียน
ความรู้ที่ได้รับ คือ การศึกษางานวิจัยสามารถสืบค้นจากแหล่งงานวิจัยทางอินเตอร์เน็ตได้ ทั้งงานวิจัยในประเทศและต่างประเทศ เช่น ในเว็บของ "ฐานข้อมูลผลงานการวิจัย"ที่สามารถเปิดอ่านงานวิจัยได้ทั้งฉบับเต็ม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น